ดู PowerPoint และฟังคำอธิบายเรื่องพุทธแท้(อริยสัจ ๔ อย่างย่อ)ไปด้วย วิธีการดาวน์โหลด์และเปิดไฟล์ เนื่่องจากการดู powerpoint และการฟังเสียงบรรยายด้วยนั้น จำเป็นต้องเปิด ๒ ไฟล์พร้อมกันคือไฟล์ powerpoint และไฟล์เสียง ซึ่งทางอินเตอร์เน็ตนั้นนทำได้ยากสำหรับเครื่องทั่วไป. เพืื่อความรวดเร็วในการเปลีี่ยนภาพและการเก็บ ไว้เป็นข้อมูลในการดูและฟังอีก จึงจำเป็นต้องบีบไฟล์ต่างๆด้วยโปรแกรม WinRAR ซึ่งเป็นโปรแกรมพื้นฐานที่นิยมใช้กันอยู่. ดังนั้น ถ้าจะดาวน์โหลด์เรื่องนี้ก็ควรติดตั้งโปรแกรม WinRAR เสียก่อน. การดาวน์โหลด์เป็นเรื่องง่าย เมื่อคลิ๊กดาวน์โหลด์ ไฟล์ที่ดาวน์โหลด์มักจะถูกเก็บไว้ในไดรฟ์ C ที่ folder: my doccuments และอยู่ใน sub folders: Downloads. ครั้นดาวน์โหลดเสร็จแล้ว ก็ควรย้ายไฟล์ที่บีบอัดแล้ว(.RAR) ไปเก็บไว้ในโฟลด์เดอร์ใหม่(ควรเป็นโฟลด์เดอร์ใหม่โดยเฉพาะ)ของไดรฟ์อื่น เช่น ในไดรฟ์ D เป็นต้น. เมื่อย้ายไฟล์เสร็จแล้วจึงใช้โปรแกรม WinRAR ทำการ extract ไฟล์ที่บีบไว้ ให้มาเป็นไฟล์เต็มรูปแบบอย่างเดิม ซึ่งจะประกอบด้วย Powerpoint, PDF file และคลิปเสียงจำนวนมาก. ข้อสำคัญคือ ทุกไฟล์ที่ดาวน์โหลดต้องอยู่ในโฟลด์เดอร์เดียวกัน จึงจะสามารถเชื่อมโยงไปเปิดไฟล์เสียงได้. เนื่องจาก powerpoint มีหลายเวอร์ชั่น และตัวอักษรมักจะมีปัญหาจึงต้องมีไฟล์ทั้ง ๒ รูปแบบให้ คือ ไฟล์: Powerpont และ PDF file ซึ่งทั้ง ๒ รูปแบบสามารถฟังคำบรรยายได้หมด. ใน power point ถ้าจะฟังคำบรรยายจากหน้าต่าง powerpoint (หน้าต่างที่สร้างเนื้อหา) ให้คลิกขวาที่รูปภาพลำโพง แล้วเลือก "เปิดการเชื่อมโยงหลายมิติ(hyperlink)" แต่ถ้าคลิกดู จากจอหน้าต่างที่เป็นการนำเสนอในห้องประชุม ก็คลิกซ้ายที่รูปลำโพงจะได้ฟังเสียงทันที ซึ่งแนะนำให้ใช้วิธีหลังนี้. ตอนที่ ๑ ไสลด์ ๐๑ - ๒๐, เรื่องเกริ่นนำ เป้าหมายของการฝึกปฏิบัติธรรมในชิวิตประจำวัน วิธีฝึกเจริญสมาธิและสติเบื้องต้น พุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องทางด้านจิตใจหรือสุขภาพจิตหรือจิตวิทยาที่ประเสริฐ พุทธศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ทุกศาสนาเอาไปใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา ตอนที่ ๒ ไสลด์ ๒๑ - ๔๐, เรื่องความหมายของพุทธศาสตร์ พระพุทธเจ้าตรัสรู้เรื่องอะไร ? จึงเป็นพระพุทธเจ้า ความคิดเป็นหัวหน้าของการกระทำทางกาย วาจา ใจ หรือของชีวิต สมุทัยและนิโรธเป็นเรื่องใกล้ตัว สาเหตุของความชั่วและความทุกข์นั้นเกิดจากการคิดชั่ว(คิดอกุศล)ของเรานี่เอง การจะละชั่ว ทำดี มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใสและพ้นทุกข์ได้นั้น จะต้องมีสติดูแลที่ความคิดของตนเอง วิธีฝึกอานาปานสติสมาธิอย่างง่าย ๆ ความหมายของกุศลและอกุศล วิธีฝึกเจริญสติในชีวิตประจำวันอย่างง่าย ๆ ปัจจุบันธรรม การฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน ตอนที่ ๓ ไสลด์ ๔๑ - ๖๐, เรื่องความคิดเป็นประธาน จะดีหรือชั่ว จะสุขหรือทุกข์ ก็เพราะความคิด พระราชดำรัสเรื่องคิดดี ทำดี พ.ศ.๒๕๔๖ พระราชดำรัสก่อนพระราชทานพรวันขึ้นปีใหม่ของพ.ศ.๒๕๔๗ เรื่องคิดดีทำดีิ และประโยชน์ของการคิดดีทำดี มรดกทางคุณธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วิธีฝึกสมาธิในขณะลืมตา โอวาทปาฏิโมกข์ ยามที่ป่วยหนัก หรือต้องทำงานหนัก แต่ใจก็ยังบริสุทธิ์ผ่องใสได้ รากเหง้าของกิเลส ตอนความโลภ ตอนที่ ๔ ไสลด์ ๖๑ - ๘๐, รากเหง้าของกิเลส ตอนความโกรธและความหลง ความสัมพันธ์ระหว่างโลภ โกรธ และหลง พระนิพนธ์ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ เรื่องโลภโกรธ หลง เราจะเป็นมหาบุรุษของชาวพุทธได้หรือไม่ ? ตันหาและอุปาทานเป็นเช่นนี้เอง ในชีวิตประจำวันเมื่อรับรู้แล้วก็พยายามมีสติไม่คิดอกุศล ใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส ช่วยกันคิดว่า...ตัวกูของกูจริงหรือเปล่า ? วิธีฝึกสำรวมความคิดในชีวิตประจำวันหรือฝึกมีสติอยู่ที่ฐานหลักของสติเป็นเรื่องที่ควรฝึกปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย วิธีทำใจให้เสมอกันตามแบบชาวพุทธเป็นเรื่องใกล้ตัว ตอนที่ ๕ ไสลด์ ๘๑ - ๑๐๐, ความทุกข์อย่างย่อ ๆ มี ๓ แบบ ความทุกข์ในขณะเจ็บป่วย มารู้จักการเกิดของความทุกข์ และการหมดไปของความทุกข์จะได้ไม่สร้างทุกข์ให้กับตนเอง ความดับทุกข์เป็นเรื่องใกล้ตัวเช่นกัน การปฏิบัติธรรมของพระสารีบุตรด้วยการเจริญสติและสมาธิสลับกันไปในชีวิตประจำวันที่เราควรเอาแบบ นิพพานเป็นเรื่องใกล้ตัวจริง ๆ พระพุทะเจ้าทรงอุทานเรื่องของนิิพพานว่าเพาะตัณหาหมดไป ทางสายกลางก็เป็นนิพพานจริงหรือไม่ ? ตอนที่ ๖ ไสลด์ ๑๐๑ - ๑๒๘, นิโรธและนิพพานเป็นเรื่องเดียวกัน คุณสมบัติของนิพพานในพระพุทธศาสนา ภาวะนิพพานชั่วคราว เป็นภาวะที่เห็นได้ทันตา และผู้ปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง ย่อมรู้เห็นได้หรือเข้าถึงได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องรอชาติหน้า ถ้าชาตินี้เข้าถึงภาวะนิพพานเป็นประจำ และถ้าชาติหน้ามี ย่อมไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เรื่องของมรรคอย่างย่อ และการฝึกปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน การเป็นฆราวาสก็ปฏิบัติธรรมได้เช่นกัน สรุปเรื่องอริยสัจ ๔ ไสลด์และเสียงบรรยายประกอบ นำมาจาก ซีดี เรื่อง อ๋อ ! พุทธแท้เป็นเช่นนี้เอง ************ |
||||||